หากจะกล่าวถึงขอมโบราณ ทุกคนคงคิดถึง นครวัด นครธม ในประเทศกัมพูชา แต่สำหรับในประเทศไทย คงคิดถึง “ปราสาทหิน” อารยธรรมขอมโบราณที่ยังหลงเหลือในประเทศไทย ปราสาทหินในไทยมีมากมาย หากดูตามวิกิพีเดีย จะเห็นว่ามีปราสาทหินจำนวน ถึง 56 แห่ง https://th.m.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่:ปราสาทหินในไทย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน หลงๆ มาแถวลพบุรี เพชรบูรณ์ และกาญจนบุรี บ้าง
ปราสาทหินที่คนรู้จักกันดี มักเป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นเทวสถานบูชาสักการะเทพ เช่น ปราสาทพนมรุ้งปราสาทหินพิมาย ปราสาทเมืองสิงห์ ปราสาทศรีเทพและประสาทสด็อกก๊อกธม
ส่วนปราสาทเล็กๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะบางปราสาททำหน้าที่เป็นธรรมศาลา (บ้านมีไฟ) อโรคยาศาลา หรือเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปในยุคขอมโบราณ
เส้นทางถนนราชมรรคา เป็นอีก 1 เส้นทางที่น่าสนใจมาก เป็นเส้นทางราชดำเนินของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาจเป็นการแผ่ขยายอาณานิคม หรืออาจจะมาทำการค้า โดยระหว่างทางได้สร้างสิ่งปลูกสร้างไว้มากมาย เส้นทางราชมรรคา มี 5 เส้นทาง โดยเราโฟกัสคือแนวเส้นทางจากปราสาทพระขรรค์ มาถึงปราสาทหินพิมาย เพราะเป็นเส้นทางที่มายังประเทศไทย
ด้วยปี 2563 มีโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เราต้องเริ่มเที่ยวในประเทศไทย ความคิดที่จะรวบรวมภาพอารยธรรมที่หลงเหลือของอาณาจักรขอมโบราณจึงเริ่มขึ้น และรวบรวมไว้ใน Blog นี้ เก็บเล็กผสมน้อย หวังว่าสักวันจะเก็บได้ครบตามวิกิพีเดีย
ปราสาทหินหมวดอุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ




















อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทรงขอมโบราณแบบบาปวนตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขะแมร์ที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานในเวลาต่อมา
















อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งใน อุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทยตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของ จังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ 📍หาโอกาสไป
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊อกก๊อกธม เป็นปราสาทขอม เป็นโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว









ใครพอมีเวลาเดินรอบ ๆ ปราสาทด้านนอก จะมีมุมถ่ายภาพสะท้อนในพื้นน้ำ คล้าย ๆ กับนครวัด


ปราสาทหินหมวดเทวสถาน
มี 56 ปราสาทหินในประเทศไทย รวมธรรมศาลา และอโรคยาศาลาแล้ว
ปราสาทเมืองต่ำเป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคา เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะมีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์




สระน้ำ 4 สระ ล้อมรอบระเบียงคดมีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปถึงก้นสระ












ปราสาทเปือยน้อย หรือพระธาตุกู่ทอง จ.ขอนแก่น มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในแถบอิสานตอนบนเท่าที่เคยค้นพบมา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16-17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานประกอบพิธีกรรม ลักษณะด้านสถาปัตยกรรมประกอบด้วยกลุ่มอาคารโบราณ 4 หลัง ก่อด้วยศิลาแลง หินทรายและอิฐ ชาวอำเภอเปือยน้อยจะจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปราสาททุกปีในช่วงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี โดยจะมีพิธีกรรมทางศาสนา ประเพณีผูกเสี่ยวอันขึ้นชื่อของชาวขอนแก่น และการแสดงเชิงประวัติศาสตร์ แสงสีเสียงอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา






ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง จ. สุรินทร์ ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
ปราสาทตาควาย พื้นที่พิพาทของไทยและกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักไดอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร
ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย














ปราสาทพระวิหาร เคยไปตอนยังเด็กก่อนจะตกเป็นของกัมพูชา ตั้งอยู่ในจังหวัดพระวิหารของประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา และปัจจุบัน ทางฝั่งกัมพูชาได้ทำถนนขึ้นเขาพระวิหารเรียบร้อยแล้ว







ปราสาทหนองหงส์ เป็นโบราณสถานขนาดเล็กในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูเข้าออกด้านหน้า ส่วนประตูอีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก







ที่สำคัญที่ปราสาทนี้ มีทับหลังที่สูญหายไป และได้รับคืนเมื่อวันที่ 31 พ.ค.64 ที่ผ่านมา ได้ข่าวว่าจะนำทับหลังไปเก็บไว้ในพิพิทธภัณฑ์พิมาย
สำหรับทับหลังของปราสาทหนองหงส์ เป็นทับหลังที่ทำจากหินทราย จำหลักรูปพระยมทรงกระบือ ประทับเหนือหน้ากาล โดยตามความเชื่อของศาสนาฮินดูนั้น “พระยม” ถือเป็นเทพประจำทิศใต้ และเป็นเทพแห่งความตาย ทรงกระบือเป็นพาหนะ พระหัตถ์ขวาถือคฑาเป็นอาวุธ มีดาวอังคารเป็นดาวประจำองค์

ปราสาทเขาโล้น ซึ่งเป็นยอดเขาเตี้ย ๆ อยู่บนเชิงเขาสะแกกรอง มีปรางค์ ๔ องค์ เหลืออยู่เฉพาะปรางค์องค์กลาง ส่วนปราสาทด้านหน้า ๒ หลัง และด้านหลัง ๑ หลัง ได้ปรักหักพังไปแล้ว ก่อด้วยอิฐเผามีหินทรายเป็นพื้นฐาน มีแนวถนนโบราณทอดยาวจากตัวปราสาทถึงสระน้ำ เป็นทางเดินหินสวยงาม รอบภูเขาลูกนี้มีร่องรอยเป็นหมู่บ้าน หรือชุมชนโบราณในอดีต








และเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก เมื่อ Asian Art Museum นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ส่งคืน “ทับหลัง” ให้ไทย หลังถูกโจรกรรมไปนานหลายสิบปี ดีที่มีรูปถ่ายเก็บไว้ไม่งั้นไม่มีหลักฐานไปแสดง
ทับหลังปราสาทเขาโล้นนั้นมีหน้ากาลคลายก้านขดม้วน แต่ด้านบนเปลี่ยนเป็นรูปเทวดานั่งชันเข่า

หมวดปราสาทหินในเส้นทางราชมรรคา


ธรรมศาลา หรือบ้านมีไฟ หรือโรงแรมโบราณ มี 121 แห่ง พบในประเทศไทย มีอยู่ 9 แห่ง บางแห่งพังทลายไปกับกาลเวลา บางแห่งได้รับการบูรณะจนเหมือนใหม่ (เรียงจากพิมายจนถึงชายแดนไทย) ประกอบด้วย
๑ . ปราสาทกู่ศาลา เป็นธรรมศาลาแรกจากเมืองพิมาย เป็นธรรมศาลาหลังเดียวในทั้งหมด 9 หลัง ที่สร้างด้วยหินทรายทั้งหมด อยู่ในสภาพชำรุด มีต้นไม้ใหญ่คลุม ยังไม่ได้รับการบูรณะ
๒. ปราสาทห้วยแคน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เป็นธรรมศาลาหลังที่สองจากเมืองพิมาย ได้รับการบูรณะแล้ว แต่ยังอยู่ในสภาพชำรุด มีบารายอยู่ทั้ง 4 มุมของปราสาท
๓. ปราสาทบ้านสำโรง ตั้งอยู่ที่บ้านสำโรง ตำบลไผทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นธรรมศาลาที่ค้นพบเป็นหลังล่าสุดในประเทศไทย
๔. ปราสาทหนองตาเปล่ง ตั้งอยู่ภายในวัดปราสาทเทพสถิตย์ ตำบลชำนิ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
๕. ปราสาทหนองตาปล่อง ตั้งอยู่ในสำนักสงฆ์โคกปราสาทเทพสถิตย์ ในเขตบ้านหนองยาง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปล่อง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์
๖. ปราสาทหนองกง ตั้งอยู่กลางทุ่งนา ในเขตบ้านหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์
๗. ปราสาทบ้านบุ ตั้งอยู่ภายในเขตโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์เป็นโบราณสถานขนาดเล็กหลังเดียว ก่อสร้างด้วยศิลาแลง พ.ศ. 2556 กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและทดลองประกอบส่วนหลังคาที่พังลงมาเพื่อเตรียมทำการบูรณะปราสาทบ้านบุใหม่ให้สมบูรณ์ขึ้นในปีถัดไป จนสวยงามจนถึงปัจจุบัน







๘. ปราสาทถมอ ตั้งอยู่ในเขตบ้านละหานทรายเก่า ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
๙. ปราสาทตาเหมือน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธมปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน 📍 รอสำรวจใหม่
นอกเหนือจากธรรมศาลา ยังมีอโรคยาศาลา หรือโรงพยาบาลโบราณ ในไทยมักเรียกว่า กุฏิฤาษี มี 102 แห่ง พบในประเทศไทย 23 แห่ง


๑. ปรางค์กู่ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จังหวัดชัยภูมิ
๒.ปรางค์กู่ บ้านหนองแผก ตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
๓.ปราสาทสระกำแพงน้อย วัดบ้านทับกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๔.ปราสาทบ้านสมอ ตำบลบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๕.ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
๖.ปราสาทจอมพระ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
๗.ปราสาทช่างปี่ บ้านช้างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์.
๘.ปราสาทตาเมือนโต๊จ ตำบลบักได อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
๙.ธาตุสมเด็จนางพญา ตำบลหนองโสน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
๑๐.กุฎิฤๅษีหนองบัวลาย ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์









๑๑.กู่ฤๅษี บ้านกู่ฤๅษี ตำบลทองหลางอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. ๑๒.ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำกิ่งอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
๑๓.ปราสาทหนองกู่ บ้านหนองกู่ ตำบลมะอึก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
๑๔.กู่โนนระฆัง ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
๑๕.กุฏิ ฤๅษี ตำบลประตูชัย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
๑๖.ปราสาทนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
๑๗.ปรางค์ครบุรี บ้านครบุรี ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นราวๆ พุทธศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.1724 – 1761) ตามพระราชโองการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอโรคยาศาลหนึ่งในจำนวน 102 แห่งที่สร้างขึ้นเพื่อรักษาคนเจ็บป่วย ปรางค์ครบุรีสร้างขึ้นตามแบบศิลปะขอมโบราณด้วยศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม กรอบประตูและทับหลังทำจากหินทรายแกะสลักลวดลาย ด้านทิศตะวันออกทำเป็นมุขยื่นเป็นทางเข้าออก บรรณาลัยสร้างด้วยศิลาแลง อยู่ด้านทิศตะวันออกของปรางค์ประธาน พร้อมด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบและซุ้มประตูอยู่ตรงทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงที่มุมซ้ายด้านหน้ามีสระว่ายน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 สระ สิ่งก่อสร้างทั้งหมดเป็นศิลาแลง ยกเว้นเสาประดับประตูทับหลังเป็นหินทราย ชิ้นส่วนเหล่านี้ยังคงเหลือเฉพาะส่วนที่ไม่มีลวดลาย ภายในสระน้ำที่อยู่ภายในบริเวณปรางค์ หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากกันว่าสระอโนดาต เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้รักษาโรคต่างๆ วันนี้เกิดมีพืชขนาดเล็กคือ ไข่น้ำ กระจายเต็มผืนสระที่ตั้งตระหง่านคู่ตัวปรางค์ครบุรี เป็นสีเขียวมรกตสวยงามตระการตา







๑๘.เมืองเก่า บ้านเมืองเก่า ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
๑๙.ปรางค์บ้านปรางค์ ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแกลง จังหวัดนครราชสีมา
๒๐.ปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น
๒๒. ปรางค์กู่ประภาชัย จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในวัดกู่ประภาชัย ดูจากก้อนหินก็ทราบถึงความเก่าแก่ ตะไคร่เกาะดูมีมนต์ขลัง ปัจจุบันเป็นที่สักการะบูชาของชาวบ้าน และเป็นจุดท่องเที่ยวของจังหวัด


















๒๑.ปรางค์กู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมืองฯ จังหวัดมหาสารคาม
๒๒.กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม
๒๓.ปราสาทบ้านพันนา อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
๒๔.ปราสาทบ้านน้อย จังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันเป็นอโรคยาศาลาเพียงแห่งเดียวที่สำรวจพบในจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ค.ศ. ๑๑๘๑-๑๒๑๘) แผนผังของเป็นไปตามทฤษฎีการสร้างอโรคยาศาลา การเดินทางเข้าจากถนนใหญ่เป็นถนนลูกรัง มีหลุมมีบ่อ รถสวนไม่ได้ ทางจังหวัดควรปรับปรุง


สภาพเก่าและเสื่อมสลายไปกันกาลเวลา





ข้อมูลจาก http://pharmacy.msu.ac.th/exhibition_new/aroka-his.html
แค่ธรรมศาลา และอโรคยาศาลา ก็มีปราสาทหินขนาดเล็กมากมายขนาดนี้แล้ว ทำให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอมโบราณที่แผ่อิทธิพลมาไกลถึงประเทศไทย และการสร้างปราสาทโดยใช้หินชนิดต่างๆ สร้างขึ้นมาด้วยความแข็งแรง แกะสลักเรื่องราวบนตัวปราสาทอย่างปราณีต และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
บ้านมีไฟ คือ “ธรรมศาลา”
“ราชมรรคา” คือถนน เชื่อมถิ่นฐาน
ชัยวรมัน สร้างไว้ เป็นตำนาน
ยุคโบราณ อาณาจักร นครธม
จากศูนย์กลาง แยกทาง เป็นห้าสาย
มีเสาราย เรียงสลัก งามสวยสม
ถนน สะพาน สเปียนใหญ่ ข้ามสายชล
เป็นที่คน ชนสัญจร รอนเดินทาง
ราชมรรคา เชื่อมโยง สองแผ่นดิน
จากพื้นถิ่น โตนเลสาบ เมืองศูนย์กลาง
ผ่านช่องจอม มีตาเมือน เรือนพักทาง
พอรุ่งสาง ผ่านบ้านบุ ลุพิมาย
ธรรมศาลา มีไว้ ให้คนพัก
เป็นบ้านหลัก มีไฟ ไล่อันตราย
เป็นจุดตรวจ ป้องกันภัย มิกล่ำกลาย
ตั้งเรียงราย ตามถนน “ราชมรรคา”
ข้อมูลจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2007/10/02/entry-1